ประวัติวิทยาลัย
กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศจัดตั้งวิทยาลัยการอาอาชีพวังน้ำเย็นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2540 ในการประกาศจัดตั้งวิทยาลัยการอาชีพทั่วประเทศ 53 แห่ง สถานที่ตั้งเลขที่104 หมู่ 13 ถนนสระแก้ว-จันทบุรี (ทางหลวงหมายเลข 317) ตำบลวังน้ำเย็น อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว รหัสไปรษณีย์ 27210 ที่ดิน ที่ใช้ในการก่อสร้างวิทยาลัยการอาชีพวังน้ำเย็น ได้รับบริจาคจากภาคเอกชน คือ นายสุรพงษ์ สูติพันธ์วิหาร นายบุญชัย สูติพันธ์วิหาร ซึ่งที่ดินดังกล่าวอยู่ในเขตความรับผิดชอบของนิคมสหกรณ์วังน้ำเย็น โดยมี นายวีระชัย ศรีสงวน ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้านิคมสหกรณ์วังน้ำเย็น กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่ทั้งหมด จำนวน 67ไร่ 2 งาน 22.57 ตารางวา วันที่ 13 สิงหาคม 2540 ระยะเริ่มแรก มีผู้ปฏิบัติหน้าที่ 3 คน ตามคำสั่งกรมอาชีวศึกษาที่ 487/2540 ลงวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 สั่งให้ วิทยาลัยการอาชีพวังน้ำเย็น เป็นวิทยาลัยจัดตั้งใหม่
ปีการศึกษา 2540 เปิดสอนประเภทอุตสาหกรรม 2 ประเภทวิชา แยกเป็น 3 สาขาวิชา ได้แก่ 1. สาขาวิชาช่างยนต์ 2. สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง ประเภทวิชาพาณิชยกรรม ได้แก่
สาขาวิชาพณิชยการ (การบัญชี)
ปีการศึกษา 2541 – 2543 เปิดสอนประเภทวิชา 2 ประเภทวิชา แยกเป็น 4 สาขาวิชา คือ ประเภทวิชาอุตสาหกรรม ได้แก่ 1. สาขาวิชาช่างยนต์ 2. สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง 3. สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ ประเภทวิชาพาณิชยกรรม ได้แก่ สาขาวิชาพณิชยการ (การบัญชี)
ปีการศึกษา 2544 มีการจัดระบบการศึกษาเปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) รับผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) หรือเทียบเท่าเข้าศึกษาต่อ โดยเปิดเพิ่ม1 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ รวมเป็น 2 ประเภทวิชา แยกเป็น 5 สาขาวิชา คือ ประเภทวิชาอุตสาหกรรม ได้แก่ 1. สาขาวิชาช่างยนต์ 2. สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง 3.สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนประเภทวิชาพาณิชยกรรม ได้แก่ 1.สาขาวิชาพณิชยการ (การบัญชี) 2.สาขาวิชาพณิชยการ (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) รับผู้ที่สำเร็จการศึกษา ระดับระกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า จำนวน 2 ประเภทวิชา แยกเป็น 4 สาขางาน คือ ประเภทวิชาอุตสาหกรรม ได้แก่ 1. สาขางานเทคนิคยานยนต์ 2. สาขางานติดตั้งไฟฟ้า 3. สาขางานเล็กทรอนิกส์ ประเภทวิชาพาณิชยกรรม ได้แก่ สาขางานการบัญชี
ปีการศึกษา 2545 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประกาศใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พ.ศ. 2545 วิทยาลัยจัดการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) รับผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) หรือเทียบเท่าเข้าศึกษาต่อ ใน 2 ประเภทวิชาแยกเป็น 5 สาขางาน คือ ประเภทวิชาอุตสาหกรรม ได้แก่ 1.สาขางานยานยนต์ 2.สาขางานไฟฟ้ากำลัง 3.สาขางานอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนประเภทวิชาพาณิชยกรรม ได้แก่ 1.สาขางานการบัญชี 2. สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) รับผู้ที่สำเร็จการศึกษา ระดับระกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า เข้าศึกษาต่อ รวมเป็น 2 ประเภทวิชา แยกเป็น 5 สาขางาน คือ ประเภทวิชาอุตสาหกรรม ได้แก่ 1. สาขางานเทคนิคยานยนต์ 2.สาขางานติดตั้งไฟฟ้า 3.สาขางานอิเล็กทรอนิกส์ ประเภทวิชาพาณิชยกรรม ได้แก่ 1. สาขางานการบัญชี 2. สาขางานการพัฒนาเว็บเพจ
ปีการศึกษา 2546 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประกาศใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พ.ศ.2545 ปรับปรุง 2546 และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 2546 วิทยาลัยมีการจัดระบบการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ใน 2 ประเภทวิชา แยกเป็น 5 สาขางาน คือ ประเภทวิชาอุตสาหกรรม ได้แก่ 1.สาขางานยานยนต์ 2. สาขางานไฟฟ้ากำลัง 3. สาขางานอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนประเภทวิชาพาณิชยกรรม ได้แก่ 1. สาขางานการบัญชี 2. สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เปิดเพิ่ม 1 สาขางาน คือ สาขางานทคโนโลยีสารสนเทศ รวมเป็น 3 ประเภทวิชา แยกเป็น 6 สาขางาน คือ ประเภทวิชาอุตสาหกรรม ได้แก่
1. สาขางานเทคนิคยานยนต์ 2. สาขางานติดตั้งไฟฟ้า 3.สาขางานอิเล็กทรอนิกส์ ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ ได้แก่ 1. สาขางานการบัญชี 2. สาขางานเทคโนโลยีสำนักงาน และประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้แก่ สาขางานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ปีการศึกษา 2547 – 2552 จัดการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) รับผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) หรือเทียบเท่าเข้าศึกษาต่อใน 3 ประเภทวิชา แยกเป็น 5 สาขางาน คือ ประเภทวิชาอุตสาหกรรม ได้แก่ 1. สาขางานยานยนต์ 2. สาขางานไฟฟ้ากำลัง 3. สาขางานอิเล็กทรอนิกส์ ประเภทวิชาพาณิชยกรรม ได้แก่ 1. สาขางานการบัญชี 2. สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) รับผู้ที่สำเร็จการศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า เข้าศึกษาต่อใน 3 ประเภทวิชา แยกเป็น 6 สาขางาน คือ ประเภทวิชาอุตสาหกรรม ได้แก่ 1. สาขางานเทคนิคยานยนต์ (ปกติและทวิภาคี) 2. สาขางานติดตั้งไฟฟ้า (ปกติและทวิภาคี) 3. สาขางานอิเล็กทรอนิกส์ ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ ได้แก่ 1. สาขางานการบัญชี 2. สาขางานเทคโนโลยีสำนักงาน และประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้แก่ สาขางานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ปีการศึกษา 2559 - ปัจจุบัน จัดการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) รับผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) หรือเทียบเท่าเข้าศึกษาต่อใน 2 ประเภทวิชา แยกเป็น
7 สาขางาน คือ ประเภทวิชาอุตสาหกรรมได้แก่ 1. สาขางานยานยนต์ 2.สาขางานไฟฟ้ากำลัง
3. สาขางานอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนประเภทวิชาพาณิชยกรรม ได้แก่ 1. สาขางานการขาย 2. สาขางานการบัญชี 3. สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ 4. สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก (ทวิภาคี)
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เปิดเพิ่ม 1 สาขางาน คือ สาขางานการตลาด รวมเป็น 3 ประเภทวิชา แยกเป็น 8 สาขางาน คือ ประเภทวิชาอุตสาหกรรม ได้แก่ 1.สาขางานเทคนิคยานยนต์ (ปกติและทวิภาคี) 2.สาขางานติดตั้งไฟฟ้า (ปกติและทวิภาคี) 3.สาขางานอิเล็กทรอนิกส์ ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ ได้แก่ 1. สาขางานการบัญชี (ปกติและทวิภาคี) 2. สาขางานการตลาด (ปกติและทวิภาคี) 3. สาขางานเทคโนโลยีสำนักงาน (ปกติและทวิภาคี) 4. สาขาวิชาการจัดการ และประเภทวิชาทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้แก่ สาขางานเทคโนโลยีสารสนเทศ (วิทยาลัยการอาชีพวังน้ำเย็น, รายงานการประเมินตนเอง. 2558 : 1-7)
กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศจัดตั้งวิทยาลัยการอาชีพวังน้ำเย็นเมื่อ วันที่ 18 มิถุนายน 2540 ในการประกาศจัดตั้งวิทยาลัยการอาชีพทั่วประเทศ 53 แห่ง วิทยาลัยการอาชีพ วังน้ำเย็น เป็นวิทยาลัยจัดตั้งใหม่จากการประสานงานดำเนินการจัดตั้ง โดยนายพิเชษฐ์ เทียนทอง ซึ่งอยู่ในสังกัดกองการศึกษาอาชีพ กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ สถานที่ตั้งเลขที่ 104 หมู่ 13 ถนนสระแก้ว-จันทบุรี (ทางหลวงหมายเลข 317) ตำบลวังน้ำเย็น อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว รหัสไปรษณีย์ 27210 ที่ดินที่ใช้ในการก่อสร้างวิทยาลัยการอาชีพวังน้ำเย็น ได้รับบริจาคจากภาคเอกชน คือ นายสุรพงษ์ สูติพันธ์วิหาร นายบุญชัย สูติพันธ์วิหาร ซึ่งที่ดินดังกล่าวอยู่ในเขตความรับผิดชอบของนิคมสหกรณ์วังน้ำเย็น โดยมีนายวีระชัย ศรีสงวน ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้านิคมสหกรณ์วังน้ำเย็น กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่ทั้งหมด จำนวน 67ไร่ 2 งาน 22.57 ตารางวา โดยได้รับอนุญาตให้ใช้สถานที่ดังกล่าว วันที่ 13 2540 สิงหาคมระยะเริ่มแรก มีผู้ปฏิบัติหน้าที คน ตามคำสั่งกรมอาชีวศึกษา 3 ที่ 487/2540 ลงวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 สั่งให้ นายสมหมาย สว่างศรี ผู้ช่วยผู้อำนวยวิทยาลัยสารพัดช่างปราจีนบุรี ทำหน้าที่ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพวังน้ำเย็น นายศรีรัฐ โชติมา วิทยาลัยเทคนิคตราดทำหน้าที่ผู้ช่วยผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพวังน้ำเย็น นายอดิศักดิ์ ปานโฉลม อาจารย์ ระดับ 2 วิทยาลัยเทคนิคตราด ทำหน้าที่ผู้ช่วยผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพวังน้ำเย็น และต่อมากระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุมัติและลงนามในประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ให้เปลี่ยนชื่อสถานศึกษาเป็น วิทยาลัยเทคนิควังน้ำเย็น ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2563 ดูแลสถานศึกษาโดย นายจรินทร์ หลังสัน ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิควังน้ำเย็น